โรคขาดสารอาหาร มี อันตรายต่อสุขภาพร่างกาย อย่างไร
แชร์:
facebook_share
line_share
twitter_share messenger_share

โรคขาดสารอาหาร มี อันตรายต่อสุขภาพร่างกาย อย่างไร


สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ บางคนอาจมีอาการ ไม่อยากทานอาหาร แต่เพื่อน ๆ รู้ไหมคะว่ามันอาจเสี่ยงเกิดเป็น โรคขาดสารอาหาร ได้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่าโรคนี้มี อันตรายต่อสุขภาพร่างกาย อย่างไร

 

โรคขาดสารอาหารคืออะไร ?

โรคขาดสารอาหาร ( Under Nutrition or Nutritional Deficiency ) เป็นหนึ่งในภาวะทุพโภชนาการ ( Malnutrition ) หรือ การได้รับสารอาหาร ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม เป็นเวลานาน จนเกิดความผิดปกติกับร่างกาย

 

โรคขาดสารอาหาร ( Under Nutrition or Nutritional Deficiency ) เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารอาหารเข้าไปไม่เพียงพอ กับความต้องการของร่างกาย หรือ อาจจะเกิดการจากที่ร่างกาย ได้รับสารอาหารตามปกติ ในระดับที่พอเหมาะ กับความต้องการของร่างกายแล้ว แต่ไม่สามารถดึงเอาสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะ ผิดปกติกับร่างกายได้ อย่างการมีรูปร่างผอมกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคได้ง่าย รวมถึงทำให้บางอวัยวะ ทำงานผิดปกติ

 

โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร

1. โรคขาดโปรตีน และ พลังงาน ( Protein-energy Malnutrition : PEM หรือ Protein-calorie Malnutrition : PCM )

มักพบในโรคนี้ในเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี เพราะเป็นช่วงวัยที่ร่างกายต้องการสารอาหาร เพื่อสร้างการเจริญเติบโต สามารถแยกได้เป็นสองประเภทคือ โรคขาดโปรตีนอย่างมาก ซึ่งจะทำให้มีอาการขาบวม ผมหลุดร่วง ผิวหนังลอกออกเป็นแผ่นบาง ๆ ตับโต มีอาการเศร้าซึม เรียกว่า ควาชิออร์กอร์ ( Kwashiorkor )

 

ส่วนแบบที่สองเรียกว่ามาราสมัส ( Merasmus ) มักพบในเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี เกิดจากการขาดโปรตีน และ พลังงาน ทำให้ร่างกายไม่บวม แต่กลับซูบผอม แบบหนังหุ้มกระดูก ในบางรายอาจมีอาการทั้งสองโรค เกิดขึ้นพร้อมกันได้

 

 

2. โรคที่เกิดจากการขาด วิตามิน และ แร่ธาตุ

  • วิตามิน เอ ( Vitamin A ) เกิดโรคเกี่ยวกับการมองเห็น
  • วิตามิน บี1 ( Vitamin B1 ) เกิดโรคเหน็บชา
  • วิตามิน บี2 ( Vitamin B2 ) เกิดโรคปากนกกระจอก
  • ธาตุเหล็ก ( Iron ) เกิดโรคโลหิตจาง
  • ธาตุฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) เกิดโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ธาตุไอโอดีน ( Iodine ) เกิดโรคคอพอก

 

สาเหตุของ โรคขาดสารอาหาร ( Under Nutrition or Nutritional Deficiency )

สาเหตุของภาวะ การขาดสารอาหาร เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยทั้งเรื่องสุขภาพ เช่น มีอาการป่วย สภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ในผู้สูงวัย หรือ การได้รับยาบางชนิด ทำให้อยากอาหารน้อยลง เบื่ออาหาร หรือ อาจเกิดจากสภาวะ การดูดซึมของร่างกายไม่ปกติก็ได้ รวมถึงการป่วยด้วยโรคในกลุ่ม โรคการกินผิดปกติ ( Eating Disorders ) เช่น Anorexia Nervosa หรือ Bulimia Nervosa เป็นต้น

 

นอกจากนี้โรคขาดสารอาหาร ยังอาจมีต้นตอมาจากปัญหา ทางสภาวะจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า ไบโพลาร์ เครียด ทำให้ไม่อยากรับประทานอาหาร รวมถึงปัญหาด้านพฤติกรรม การเลือกกินอาหารเฉพาะบางประเภท หรือ การจำกัดปริมาณอาหาร และ ยังอาจเกิดจากปัญหาความยากจน จนทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารก็ได้เช่นกัน

 

 

อาการของ โรคขาดสารอาหาร ( Under Nutrition or Nutritional Deficiency )

  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ผมร่วง
  • เวียนศีรษะและอ่อนเพลียได้ง่ายกว่าปกติ
  • ใจสั่น
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ชาหรือเสียวบริเวณข้อต่อ

 

โดยอาการบางอย่างของ โรคขาดสารอาหาร ( Under Nutrition or Nutritional Deficiency ) อาจไม่รุนแรง ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่า เป็นโรคได้ เช่น อาการอ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้มากขึ้น หรือ เป็นติดต่อกัน เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ควรเริ่มพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ของอาการเหล่านี้ ว่าเกิดจากโรคขาดสารอาหารหรือไม่

 

การป้องกัน โรคขาดสารอาหาร ( Under Nutrition or Nutritional Deficiency )

รับประทานอาหารให้ได้สัดส่วน ตามหลักโภชนาการ รับประทานอาหาร 5 หมู่ให้ครบถ้วน โดยรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์กับร่างกาย เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี หรือ เนื้อสัตว์บางชนิดเพื่อเพิ่มวิตามิน และ แร่ธาตุ ไม่เลือกกินเฉพาะอาหารที่ชอบ แต่กินอาหารให้มีความหลากหลาย เพราะแร่ธาตุ และ วิตามินบางชนิด หากได้รับในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะบางส่วน ในร่างกายได้ค่ะ

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ค่าออกซิเจนในเลือด สัมพันธ์ กับ โควิด 19 อย่างไร

กระชายขาว มี ประโยชน์ และ โทษ อย่างไร


แท็ก :


บทความที่น่าสนใจ

สอบถามเพิ่มเติม คลิก

payment
แจ้งชำระเงิน คลิก