โรคที่มากับฝน การดูแลและวิธีป้องกัน
ไข้หวัดใหญ่ คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้ออินฟลูเอนซาไวรัส (Influenza Virus) ในระบบทางเดินหายใจ มีทั้งหมด 3 ชนิด คือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A, B และ C พบได้ในผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก พบการระบาดมากที่สุดในช่วงฤดูฝน รวมถึงฤดูหนาวของทุกปี
ผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ จะมีไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ตาแดง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อวิธีป้องกัน ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด อากาศไม่ถ่ายเท ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการรับเชื้อ และเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงก่อนเข้าฤดูฝนเพื่อป้องกันความรุนแรงของโรค
โรคหลอดลมอักเสบ คือ ภาวะการอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม ทำให้ต่อมเมือกหลั่งเมือกออกมามากผิดปกติและมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดกั้นช่องทางเดินหลอดลม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ เสมหะเหนียวข้น และหอบเหนื่อยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับเชื้อไข้หวัดใหญ่และไข้หวัด รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือการสัมผัสสิ่งระคายเคือง เช่น ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ สารเคมี
ผู้ที่มีโรคนี้จะมีไข้ต่ำ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ไอแบบไม่มีเสมหะหรือเล็กน้อยและมีเสมหะมากขึ้น หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียจะมีเสมหะข้นสีเขียวหรือเหลืองวิธีป้องกัน ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำอุ่น ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้เพียงพอ เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหลีกเลี่ยงสารระคายเคือง เช่น ฝุ่นละออง ควัน ควันบุหรี่ และสารเคมี
โรคปอดอักเสบและปอดบวมเกิดจากการติดเชื้อบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อและโรคปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ทั้งนี้ โรคปอดอักเสบและปอดบวมจัดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เกิดจากการสัมผัสกับอากาศแปรปรวนหรืออากาศชื้น การสัมผัสผู้ติดเชื้อ สารคัดหลั่ง เลือด รวมถึงการหายใจเอาเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ลอยปะปนในอากาศจากการไอ จามของผู้ป่วยเข้าสู่ร่างกาย
ผู้ที่เป็นโรคนี้ จะมีไข้สูง ไอ มีเสมหะ หนาวสั่น อ่อนเพลีย หายใจหอบเหนื่อย หากมีอาการรุนแรงจะมีภาวะหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ การป้องกันพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ หากเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ควรรีบรักษาให้หายโดยเร็วเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบเพื่อลดความรุนแรง
แท็ก :
บทความที่น่าสนใจ