โปรตีน ช่วย เสริมสร้าง ระบบภูมิคุ้มกัน ( Immunity System )
แชร์:
facebook_share
line_share
twitter_share messenger_share

โปรตีน ช่วย เสริมสร้าง ระบบภูมิคุ้มกัน ( Immunity System )


เพื่อน ๆ รู้กันไหมคะว่า โปรตีน ( Protein ) ที่เราหาทานได้จากพวก เนื้อสัตว์ ไข่ ผักและผลไม้บางชนิด นั้น นอกจากจะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการ เสริมสร้าง ระบบภูมิคุ้มกัน ( Immunity System ) ภายในร่างกาย อีกด้วย

 

อันที่จริงแล้ว ระบบภูมิคุ้มกัน ของเรา คือ หนึ่งในกลไกป้องกัน การติดเชื้อไวรัส ในร่างกาย ที่มีประสิทธิภาพที่สุด ภูมิคุ้มกันร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด ( Innate Immunity ) ที่ช่วยป้องกันเชื้อโรค ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย

2. ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ( Adaptive Immunity ) ที่ทำหน้าที่ กำจัด หรือ ยังยั้ง การเติบโต ของเชื้อโรค ในร่างกาย เช่น ไวรัส และ แบคทีเรีย

 

บทบาทของโภชนาการต่อ ระบบภูมิคุ้มกัน ( Immunity System ) ในร่างกาย

ปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ที่เรารับประทาน บริเวณที่เราอยู่อาศัย จำนวนชั่วโมง ที่เรานอนหลับ วิธีการออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่ง ผู้คนที่เราอาศัยอยู่ด้วย ทั้งหมดนี้ล้วนก่อให้เกิด ปฏิกิริยาเคมี ที่สร้างผลกระทบ ต่อสุขภาพของเราได้ทั้งสิ้น รวมไปถึง ไมโครไบโอม ( Microbiome ) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ในร่างกาย ที่ช่วยป้องกัน เราจากเชื้อโรค ย่อยอาหาร ให้กลายเป็นพลังงาน สร้างวิตามินสำคัญ และ เสริมสร้าง ระบบภูมิคุ้มกัน ( Immunity System ) ให้แข็งแกร่ง   

 

ส่วนที่ใหญ่ที่สุด หรือ ประมาณร้อยละ 70 ของ ระบบภูมิคุ้มกัน ( Immunity System ) ตั้งอยู่ใกล้กับลำไส้ ซึ่งคอยตรวจสอบ ปริมาณอาหาร ที่เรารับประทานเข้าไป พร้อมกับกำหนดว่า ร่างกายควรนำอาหารเหล่านั้น ไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่เราต้องรับประทานอาหาร ในปริมาณที่เหมาะสม ประกอบด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และ สารอาหาร สำคัญต่าง ๆ และ มีไลฟ์สไตล์ที่ช่วยให้ สุขภาพดีอยู่เสมอ มันไม่ใช่เพียงปรับเปลี่ยน ปริมาณสารอาหาร แค่หนึ่งหรือสองกลุ่ม แต่เราต้องดูแล ทั้งมื้ออาหารให้สมดุล เพื่อให้แน่ใจว่า ได้รับปริมาณสารอาหาร เพียงพอต่อเซลล์ ทุกระดับในร่างกาย

 

โปรตีน ( Protein ) เป็นสารอาหารหลัก ที่คอยทำหน้าที่ สร้างเสริม และ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และ เซลล์ร่างกายที่เสื่อม โดยเฉพาะเซลล์ใน ระบบภูมิคุ้มกัน ( Immunity System ) หากไม่ได้รับ โปรตีน ( Protein ) ในปริมาณที่เพียงพอ ร่างกายจะมีประสิทธิภาพของ ระบบภูมิคุ้มกัน ( Immunity System ) ที่ลดลง ไม่เพียงพอต่อการ ต้านทานการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ เราจึงมีความต้องการ โปรตีน ( Protein ) ที่เพิ่มมากขึ้น ในช่วงเวลาที่ต้อง สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค เชื้อไวรัสต่าง ๆ รวมไปถึงช่วงการฟื้นฟูร่างกาย จากอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ แต่ในขณะเดียวกัน อายุที่เพิ่มมากขึ้น ก็ส่งผลต่อ ทั้งการย่อย และ การดูดซึม โปรตีน ( Protein ) ของร่างกาย ดังนั้น คนในวัยผู้ใหญ่ จึงควรบริโภค โปรตีน ( Protein ) เพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาสุขภาพที่ดี หายจากอาการเจ็บป่วยได้ไวขึ้น รวมไปถึงรักษา มวลกล้ามเนื้อ และ การทำงาน ของกล้ามเนื้อ ให้เป็นปกติอีกด้วย

 

ปริมาณการบริโภค โปรตีน ( Protein ) ที่เหมาะสม ในแต่ละวัน สำหรับคนวัยผู้ใหญ่นั้น ควรอยู่ที่ 1.0-1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว หนึ่งกิโลกรัม ( เช่น น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม เราควรได้รับ โปรตีน ( Protein ) 60-72 กรัมต่อวัน )

 

แต่ปัญหาการบริโภค โปรตีน ( Protein ) ที่ไม่เพียงพอ ในวัยผู้ใหญ่นั้น มักพบได้บ่อยขึ้น ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การลดการบริโภคเนื้อสัตว์ การงดรับประทานอาหารเช้า และ จากผลวิจัยในปัจจุบัน พบว่า การออกกำลังกาย เป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยง ของการติดเชื้อโรค เชื้อไวรัส ยิ่งส่งผลให้หลายคน หันมาออกกำลังกาย กันมากยิ่งขึ้น ซึ่งการออกกำลัง ที่มากขึ้นกว่าเดิมนั้น ทำให้ร่างกาย ต้องการ โปรตีน ( Protein ) เพิ่มมากขึ้นถึง 40% จากปริมาณเดิมต่อวัน เพื่อใช้ในการซ่อมแซม กล้ามเนื้อ หลังการออกกำลังกาย แต่เนื่องจาก ร่างกายสามารถย่อย และ ดูดซึม โปรตีน ( Protein ) ได้อย่างจำกัด ในแต่ละครั้ง ดังนั้น เราจึงควรจัดสรร การบริโภค โปรตีน ( Protein ) ให้เหมาะสม ในแต่ละมื้อ เพราะการรับประทาน ในมื้อใดมื้อหนึ่งมากเกินไปนั้น อาจทำให้ร่างกาย ได้รับประโยชน์ ไม่เต็มที่นั่นเอง

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ค่าออกซิเจนในเลือด สัมพันธ์ กับ โควิด 19 อย่างไร

กระชายขาว มี ประโยชน์ และ โทษ อย่างไร


แท็ก :


บทความที่น่าสนใจ

สอบถามเพิ่มเติม คลิก

payment
แจ้งชำระเงิน คลิก