ฟ้าทะลายโจร มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกทาน และแต่ละแบบก็ใช้ในปริมาณที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น เราจึงนำข้อแตกต่างของ ฟ้าทะลายโจร ชนิดผง และสารสกัด มาเปรียบเทียบให้ทุกคนได้เห็นในบทความนี้ค่ะ
ฟ้าทะลายโจร ในตลาดที่อาจทำให้เกิดการสับสน และนำไปใช้ และเกิดผลข้างเคียงได้ เพราะใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม มีด้วยกัน 2 รูปแบบ ได้แก่
1. ยาจากผง ฟ้าทะลายโจร
- เป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาตากแห้ง และบดเป็นผง
- นำผงจากใบแห้งมาบรรจุแคปซูล
- มีองค์ประกอบของสารหลายตัว รวมถึงไฟเบอร์จากใบ และสาระสำคัญที่ออกฤทธิ์อย่างแอนโดรกราโฟไลด์ แต่ไม่เข้มข้น
- แอนโดรกราโฟไลด์ อยู่ในมาตรฐานที่อย. กำหนด คือ ไม่ต่ำกว่า 1%
- หากข้างขวดระบุว่า แคปซูลมี ฟ้าทะลายโจร 400 มก. แปลว่า มีแอนโดรกราโฟไลด์ 4 มก.
- การใช้รักษาหวัด จะต้องใช้ยาที่มีแอนโดรกราโฟไลด์ 60 มก.ต่อวัน
ดังนั้น ในรูปแบบแคปซูล ขนาด 350 -400 มก. ต่อแคปซูล ต้องรับประทานครั้งละ 4 แคปซูลหรือเม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน จะได้ปริมาณยาประมาณ 6,000 มก. หรือเท่ากับแอนโดรกราโฟไลด์ 60 มก. และกินไม่เกิน 3-5 วัน
2. ยาจากสารสกัด ฟ้าทะลายโจร
- ในกรณีนี้ไม่มีใบติดมา เป็นสารสกัดล้วน ๆ
- ออกมาเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ แอนโดรกราโฟไลด์
- หากข้างกระป๋องเขียนว่า รูปแบบแคปซูล หรือยาเม็ด ขนาด 9-10 มก. ต่อแคปซูล หรือเม็ด แสดงว่ามีแอนโดรกราโฟไลด์ 10 มก.
- หากต้องการกินวันละ 60 มก. กินครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง
สรรพคุณของ ฟ้าทะลายโจร
สรรพคุณ ฟ้าทะลายโจร ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวให้จับกินเชื้อโรคได้ดี
ยิ่งขึ้นอีกด้วย
- ฟ้าทะลายโจร มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- ฟ้าทะลายโจร ใบใช้เป็นยาขมช่วยทําให้เจริญอาหาร
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ต้น ฟ้าทะลายโจร กระชาย และว่านเอ็นเหลือง นํามาทําเป็นยา
เม็ดลูกรับประทาน
- ช่วยป้องกัน และแก้อาการหวัด คัดจมูก ด้วยการใช้ใบ และกิ่งประมาณ 1 กํามือ (สดใช้ 25 กรัม แต่
ถ้าแห้งใช้ 3 กรัม) นํามาต้มกับน้ำดื่ม รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า และเย็น หรือในขณะที่มีอาการ ( กิ่ง, ใบ )
- ช่วยแก้อาการปวดหัวตัวร้อน อาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุด้วยการใช้ใบ และกิ่งประมาณ 1 กํา
มือ ( สดใช้ 25 กรัม แต่ถ้าแห้งใช้ 3 กรัม ) นํามาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า และเย็น
หรือในขณะที่มีอาการ ( กิ่ง, ใบ )
- ช่วยรักษาไข้ไทฟอยด์ด้วยการรับประทาน ฟ้าทะลายโจร ก่อนอาหารครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์หลังจากนั้นให้กินยาบํารุงเพื่อฟื้นฟูกําลังของผู้ป่วยร่วมด้วย
- ช่วยแก้อาการไอ ลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูก ด้วยการใช้ใบนํามาทําเป็นยาผงแล้วนํามาใช้สูด
ดม
- ช่วยลด และขับเสมหะ ด้วยการใช้ใบนํามาทําเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม
- ช่วยระงับอาการอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ด้วย
การใช้ใบนํามาทําเป็นยาผงแล้วนํามาใช้สูดดม
- ช่วยแก้อาการติดเชื้อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดอาการปวดท้อง
ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นบิด ด้วยการใช้ทั้งต้น ( ส่วนทั้ง 5 ของ ฟ้าทะลายโจร ) นํามาผึ่งลมให้
แห้งแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กํามือ ( น้ำหนักประมาณ 3-9 กรัม ) แล้วนํามาต้มกับน้ำดื่ม
ตลอดวัน ( ทั้งต้น )
ฟ้าทะลายโจร ใช้อย่างไรจึงจะปลอดภัย ?
- ไม่ควรกินยา ฟ้าทะลายโจร เพื่อป้องกันโควิด-19 โดยที่ยังไม่มีอาการ
- เมื่อมีอาการคล้ายหวัด เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหัว ควรกินยา ฟ้าทะลายโจร ทันที พร้อมแยกตัวเองออกมาจากคนอื่น ๆ ที่อาศัยร่วมกันในบ้าน และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนอื่น
- ฟ้าทะลายโจร อาจใช้ร่วมกับยาพาราเซตามอลได้
- หากกินยา ฟ้าทะลายโจร แล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ควรรีบไปพบแพทย์
- ฟ้าทะลายโจร แบบแคปซูลยาผง กินครั้งละ 4 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน ( แนะนำให้เช็คปริมาณยาต่อแคปซูลอีกครั้ง และกินครั้งละประมาณ 1,500 มิลลิกรัม )
- แคปซูลสารสกัด ฟ้าทะลายโจร ให้กิน ครั้งละ 1 หรือ 2 แคปซูล เพื่อให้ได้รับสารสำคัญแอนโดรกราโฟไลด์ประมาณ 18-20 มิลลิกรัม/ครั้ง กินวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
- ห้ามใช้ยา ฟ้าทะลายโจร ในหญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร รวมทั้งผู้ป่วยที่มีอาการไข้เจ็บคอเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง หนาวสั่น
- หากมีอาการแพ้ ฟ้าทะลายโจร เช่น เกิดผื่น ลมพิษ หน้าบวม ริมฝีปากบวม หายใจลำบาก ให้หยุดใช้ยาทันที และไม่ใช้อีก
- ควรระวังในผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน แอสไพริน โคลพิโดเกรล ยาลดความดันโลหิต เพราะอาจมีฤทธิ์เสริมกันได้
- ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรรสขมจัด มีฤทธิ์เย็น ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้แขนขาชา หรืออ่อนแรง ร่างกายรู้สึกหนาวเย็นภายในเนื่องจากการเสียสมดุลธาตุ
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม