กระชายขาว หนึ่งใน สมุนไพร ที่ขึ้นราคาอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากมีงานวิจัยออกมาว่าสมารถยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด19 ได้ ทำให้ กระชายขาว เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก เรามาดูสรรพคุณของ สมุนไพร ชนิดนี้กันค่ะ
กระชายพืชสมุนไพรที่หลายคนคุ้นเคย แต่เราทราบไหมว่ากระชายมีกี่ชนิด ดีอย่างไร และมีโทษอย่างไรบ้าง กระชาย มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ กระชายเหลือง หรือ กระชายขาว กระชายดำ และกระชายแดง
กระชายขาว กับโควิด-19
กระชายขาว หรือ กระชาย เป็นสายพันธุ์ที่มีการใช้มาอย่างยาวนาน และนิยมนำมาประกอบอาหาร ซึ่งแตกต่างจากกระชายดำ ที่นิยมใช้ในสรรพคุณเสริมสรรถภาพทางเพศ โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ใน กระชายขาว ได้แก่ แพนดูราทิน ( Pandurtin ) พินอสทรอบิน ( Pinostrobin ) ไบเซนเบอร์จิน ( Boesenbergin )
กระชายขาว เป็น สมุนไพร ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นเหง้า, ราก, ใบ นิยมนำมาต้มดื่มเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย โดยใส่มะนาว หรือน้ำผึ้งเพิ่มเติมลงไป เพื่อลดความขมของเหง้า กระชายขาว สด บ้างก็นำมาบดทำเป็นยาในทางแพทย์แผนไทย โดยมีสรรพคุณสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ได้ดังนี้
สมุนไพร กระชายขาว มีสรรพคุณอะไรบ้าง ?
1. จากผลการวิจัยในหลอดทดลอง กระชายขาว มีสาร พิโนสโตบิน เเละ แพนดูราทินเอ ที่สามารถทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ได้
2. กระชายขาว มีสรรพคุณ ช่วยต้านอาการหวัด เเก้วิงเวียนศรีษะ เเละลดไขมันในเลือดได้
3. สารสกัดจาก กระชายขาว ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เเละกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
4. สารสกัดจาก กระชายขาว ช่วยเพิ่มสมรรถนะทางเพศชาย
5. สารสกัด กระชายขาว มีฤทธิ์ในการต่อต้านเจริญเติบโตของแบคทีเรียในสำไส้ อันเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพราะอาหาร เเละช่วยลดการอักเสบของกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
6. กระชายขาว มีสรรพคุณ ช่วยลดอาการเหงือกอักเสบ หรือมีเเผลในช่องปาก โดยใช้กระชายขาวทุบให้ละเอียดเเละต้มให้เดือด เเละใช้บ้วนปาก
7. กระชายขาว ช่วยในการขับสารพิษออกจากตับได้อีกด้วย
8. กระชายขาว มีฤทธิ์ในการช่วงเเก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย โดยนำใช้เหงากระชายขาวไปปิ้งไฟ เเละตำอย่างละเอียด นำมาผสมกับน้ำปูนใส เเละคั้นดื่ม
9. กระชายขาว มีสรรพคุณ ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้
10. กระชายขาว มีสรรพคุณ ช่วยบำรุงหัวใจ
ข้อควรรู้ก่อนกิน "กระชายขาว" ผลข้างเคียงที่ไม่ควรมองข้าม
แม้ กระชายขาว จะมีสรรพคุณทางยา แต่หากกินติดต่อกันเป็นเวลานานในปริมาณเกินพอดี ก็อาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะอาการร้อนใน แผลในปาก ปัญหาเหงือกร่น และภาวะใจสั่น เนื่องจาก กระชายขาว เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนนั่นเอง หากกินเยอะเกินไปร่างกายอาจเสียสมดุลได้
โทษของ กระชายขาว
หากมีการรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะกระชายจะทำให้เลือดหนืด อาจส่งผลให้รู้สึกหมดแรง และป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาได้
กระชายดำ
กระชายดำ หรือที่ถูกเรียกกันว่า "โสมกระชาย" หรือ "โสมไทย"ขึ้นชื่อด้านเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง เพิ่มสมรรถภาพเพศชาย อีกทั้งอาจรักษาป้องกันโรคบางชนิด ประโยชน์ของกระชายดำ มีดังนี้
โทษของกระชายดำ
การบริโภคกระชายดำเป็นอาหารในปริมาณ และวิธีที่เหมาะสมอาจไม่ทำให้เกิดอันตรายสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคยา หรือสารสกัดจากกระชายดำ เพราะอาจเกิดปฏิกิริยากับยารักษาบางชนิด และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภคได้
กระชายแดง
กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้า และเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม ส่วนขนาดของลำต้น ขนาดใบ เหง้าหรือรากจะเล็กกว่ากระชายเหลือง ส่วนคุณประโยชน์และสรรคุณของกระชายแดง คือช่วยบำรุงกำลังทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงระบบประสาท บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อแก้ลมจุกเสียด ใช้เป็นยาอายุวัทนะ ช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ด้วยกาาใช้หัวตากแห้งนำมาบดละเอียดละลายผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนกินประจำก่อนอาหารเช้า-เย็น
โทษของกระชายแดง
การรับประทานในปริมาณที่เกินไป และรับประทานทุกวัน อาจมีผลเสียกับระบบการไหลเวียนของเลือด ดั้งนั้นควรรับประทานให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และหากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
อย่างไรก็ตาม หากจะกิน กระชายขาว เพื่อรักษาโรค ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ เด็ก สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร และผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ไม่ควรกิน กระชายขาว เพราะจะส่งผลต่อการทำงานของตับ และไต
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
แท็ก :
บทความที่น่าสนใจ