10 คุณประโยชน์ ของน้ำมันอะโวคาโด ( Avocado Oil )
1 ช่วยลดคอเลสเตอรอล
เกือบ 70 % ของน้ำมันอะโวคาโด อุดมด้วยกรดโอเลอิก ( Oleic Acid ) ที่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ที่ดีต่อสุขภาพมีงานวิจัยพบว่า ช่วยลดคอเลสเตอรอล ทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น และก็ช่วยเพิ่มไขมันดี ( HDL ) พร้อมกับการศึกษา ในหนูทดลองพบว่า อาจช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride ) และไขมันไม่ดี ( LDL ) ด้วย
2 มีส่วนช่วยบำรุงดวงตา
อุดมไปด้วยลูทีน ( Lutein ) เป็นแคโรทินอยด์ ( Tetraterpenoid ) ชนิด หนึ่งที่มีคุณสมบัติ ในการต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidant ) ที่มีประโยชน์ต่อดวงตา ร่างกายเราผลิตลูทีนเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น
3 เพิ่มการดูดซึมสารอาหาร
สารอาหารบางอย่าง ต้องการไขมัน ( Fat ) เพื่อการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะแคโรทินอยด์ ( Tetraterpenoid ) จากพืชที่เป็นสาร ต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidant ) ซึ่งพบในเม็ดสีของพืชหลายชนิด แต่ผักผลไม้ที่อุดมด้วย แคโรทินอยด์มักจะมีไขมันต่ำ การวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า การใส่น้ำมันอะโวคาโด ในสลัด จะช่วยเพิ่มการดูดซึมของ แคโรทินอยด์จากผัก เหล่านี้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับสลัดที่ไม่ได้ใส่น้ำมัน
4 ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น
อะโวคาโด เป็นผลไม้ที่ติดหนึ่งในห้า ที่มีวิตามินอี ( Vitamin E ) สูงสุด ไขมันที่ละลายในน้ำชนิดนี้ ช่วยทำให้ผิวดูดีขึ้น ช่วยเรื่องสุขภาพตา บำรุงระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันความเสียหาย จากอนุมูลอิสระในร่างกาย และทำให้การย่อยอาหาร ทำงานได้ดีขึ้น ถ้าคุณมีอาการ กรดไหลย้อนบ่อย ๆ มีแก๊สในท้อง หรือท้องอืดเป็นประจำ อาจมาจากการย่อยอาหารที่ไม่ดี ลองเติมน้ำมันอะโวคาโดเข้าไปในอาหาร เพื่อช่วยแก้ปัญหา เพราะวิตามิน ( Vitamin ) แร่ธาตุ ( Minerals ) และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ในอะโวคาโดช่วยให้ ระบบย่อยอาหาร ทำงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยปกติแล้ว ร่างกายของเรา จะดูดซึมวิตามินอี ( และสารอาหารส่วนใหญ่ ) จากอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าจากอาหารเสริม
5 มี่วนช่วยล้างพิษในร่างกาย
น้ำมันอะโวคาโด อุดมด้วยคลอโรฟิล ( Chlorophyll ) ที่เป็นแหล่งของแมกนีเซียม และเป็นหนึ่งในสารธรรมชาติ ที่ช่วยในการขจัดโลหะหนัก ออกจากร่างกาย ( เช่น ตะกั่ว สารปรอท ที่เป็นของเสียจากตับ ไต และอวัยวะอื่นของร่างกาย ) โมเลกุลของคลอโรฟิลล์ มีอนุภาคของแมกนีเซียม ที่จะปล่อยออกมาได้ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อม ที่เป็นกรด อย่างเช่นในร่างกายมนุษย์ เมื่อไม่มีแมกนีเซียม ที่ถูกปล่อยออกมา คลอโรฟิลล์ก็จะดึงเอาอนุภาค ของโลหะเข้าไปแทนที่ และขับออกมาจากร่างกาย ทางอุจจาระ จับคู่น้ำมันอะโวคาโดกับสลัด หรืออาหารผักอื่น เพื่อเพิ่มพลังของคลอโรฟิลล์ในการขับสารพิษ
6 ทำให้ผิวแข็งแรง
นอกจากบำรุงร่างกาย จากภายในแล้ว ก็สามารถบำรุงจาก ภายนอกได้เช่นกัน โดยในการใช้น้ำมันอะโวคาโด ทาลงบนผิว จะช่วยเพิ่มความสามารถ ของร่างกายในการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ที่แข็งแรงกว่าเก่า เนื่องจาก วิตามิน อี โปตัสเซียม และเลซิธิน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในน้ำมัน สามารถดูดซึมผ่าน เข้าไปในผิวชั้นนอก เข้าสู่ผิวชั้นใน ช่วยสร้างพลังงานให้ผิว และทำให้เซลล์ผิวใหม่เติบโตเร็วขึ้น
7 ลดอาการอักเสบ และคันของผิว
เนื่องจากปริมาณของ กรดโอเลอิก ที่มีคุณสมบัติ ต้านอักเสบ น้ำมันอะโวคาโด ที่เอามาทาบนผิว จึงสามารถช่วยบรรเทา ความรู้สึกไม่สบาย ทั้งหลายแหล่ของผิวได้ เช่น อาการคัน ผิวแตก ส้นเท้าแตก ผิวไหม้แดด ผิวหนังอักเสบ และสะเก็ดเงิน แต่เนื่องจากเราทุกคน มีปฏิกิริยาต่อน้ำมันธรรมชาติไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นก่อนใช้ก็ควรทาลงบนผิวในบริเวณเล็ก ๆ เพื่อทดสอบอาการแพ้ดูก่อนใช้จริง
8 ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
เนื่องจากกรดไขมัน ในน้ำมันอะโวคาโด การศึกษาชิ้นหนึ่งในคนไข้ 13 คน พบว่าครีมที่มีส่วนผสม ของน้ำมันอะโวคาโดและวิตามินบี 12 ช่วยทำให้อาการของโรค สะเก็ดเงิน ดีขึ้นหลังจากใช้ไป 12 สัปดาห์ และยังมีการศึกษาที่พบว่า น้ำมันอะโวคาโดช่วยเยียวยาผิวหนังที่บาดเจ็บได้ และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
9 ทำให้ผมยาวเร็วขึ้น และแข็งแรงขึ้น
สารอาหารในน้ำมันอะโวคาโด เหมาะอย่างมากสำหรับ การบำรุงผมเช่นกัน ลองใช้น้ำมันอะโวคาโดหมักผม หรือเอาไปผสมกับน้ำมันหอมระเหยอื่นมีประโยชน์ต่อผมและหนังศีรษะ ก่อนทาลงบนเส้นผมและหนังศีรษะ ทำให้ผมดูดีและแข็งแรงขึ้น เส้นผมจึงยาวเร็วขึ้น
10 ใช้ปรุงอาหารได้ดี เพราะเป็นน้ำมันที่มีจุดการเกิดควันสูง
ความร้อนจากการปรุงอาหาร ไม่เพียงแต่จะทำลาย สารอาหารในน้ำมัน แต่มันยังทำให้เกิด สารประกอบอันตราย ขึ้นมาด้วยนั่นก็คือ สาร AGE ( Advance glycation end products ) ซึ่ง ได้รับการยืนยันว่า ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง มีส่วนอย่างมาก ในการทำให้เกิดการอักเสบ และทำให้ผิวแก่ลง น้ำมันอะโวคาโดบริสุทธิ์ เป็นน้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูงกว่าน้ำมันอื่น เหตุผลที่น้ำมันอะโวคาโด ทนความร้อนได้สูง เพราะมีไขมันไม่อิ่มตัว หลายตำแหน่ง ( Polyunsaturated Fat ) ในปริมาณต่ำ เนื่องจากไขมันนี้ไม่ค่อยเสถียร และทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ง่าย ( Oxidation )
อ่านบทความเพิ่มเติม
แท็ก :
บทความที่น่าสนใจ