สร้างระบบภูมิคุ้มกันต้านโควิด-19
แชร์:
facebook_share
line_share
twitter_share messenger_share

สร้างระบบภูมิคุ้มกันต้านโควิด-19


โดยปกติแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ หลังจากหายป่วยจากโรคติดเชื้อเหล่านั้น เมื่อเกิดการติดเชื้อชนิดเดียวกันซ้ำในครั้งถัดไปก็จะทำให้ร่างกายสามารถตอบสนองต่อเชื้อได้ดีขึ้น

 

หลายคนที่เคยป่วยจากการได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ร่างกายจะจดจำเชื้อดังกล่าว แต่เมื่อหายจากโรคแล้วเกิดการติดเชื้อขึ้นซ้ำ ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงน้อยลงและฟื้นตัวได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งคล้ายกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค  

 

แต่สำหรับโรคติดเชื้อโควิด-19 หรือเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่เพิ่งถูกค้นพบอาจทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต้องใช้เวลาสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อชนิดใหม่ โดยจะมีทั้งผู้ที่กำจัดเชื้อได้และกำจัดไม่ได้ ทำให้ความรุนแรงของผู้ป่วยแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติหรือมีอาการไม่รุนแรง แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต อีกทั้งยังมีปัจจัยสำคัญที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยคือยังไม่มียารักษาเฉพาะโรค เนื่องจากการผลิตยาและวัคซีนจำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษาทดลอง เพื่อให้ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

 

แม้ว่าระบบภูมิคุ้มกันเพียงอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้ แต่การเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นก็จำเป็นอยู่ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนอันตรายอย่างอาการปอดบวมที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูง โรคปอด เป็นต้น นอกจากนี้ ภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงอาจช่วยลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อ อย่างโรคไข้หวัดและโรคไข้หวัดใหญ่ จึงอาจช่วยลดภาวะแทรกซ้อนอันตรายเมื่อเกิดการติดเชื้อจากทั้งโรคโควิด-19 และโรคติดเชื้ออื่น ๆ

 

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ เพียงปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการใช้ชีวิตให้เหมาะสมและดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย เลือกรับประทานอาหารบางประเภท โดยให้เน้นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน เช่น วิตามิน ซี วิตามิน ดี  และสังกะสี เป็นต้น

 

นอกจากนี้ก็ควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพราะการออกกำลังกายไม่ว่าจะรูปแบบใดก็สามารถสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย ส่งผลดีต่อการทำงานของร่างกายหลายระบบ ทั้งหัวใจ การไหลเวียนเลือด รวมไปถึงระบบภูมิคุ้มกัน โดยการออกกำลังกายอาจช่วยเพิ่มการกระจายของเม็ดเลือดขาวและแอนติบอดี (Antibody) หรือสารภูมิคุ้มกันในร่างกาย เมื่อมีการกระจายของเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นก็อาจช่วยให้พบเชื้อได้เร็วและแสดงอาการได้เร็วขึ้น จึงอาจเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที

 

ติดโควิด -19 เชื้อจบ อาการไม่จบ 

 

     กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก ชี้แจงเกี่ยวกับภาวะลองโควิด (LONG COVID) อาการที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แม้จะหายจากการติดเชื้อแต่ยังมีผลข้างเคียงซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้ป่วยในระยะยาว

 

            พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์ หัวหน้ากลุ่มงานอายุรศาสตร์ปอด สถาบันโรคทรวงอก อธิบายว่า Long COVID  หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 พบในผู้ป่วยบางรายที่เป็น โควิด–19 และพ้นระยะการแพร่เชื้อ ( เชื้อ โควิดอยู่ในร่างกายประมาณ 10-14 วันมากสุด 21 วัน) แล้วแต่ยังแสดงอาการคล้ายคลึงกับอาการขณะที่ยังติดมีเชื้อโควิด–19 อยู่ ในภาวะปกติหลังติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการฟื้นตัวได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ ต่ในผู้ป่วย Long COVID กลับพบว่ามีอาการมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป และสามารถมีอาการได้นานถึง 4-6 เดือน ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตได้ในกรณีที่มี ภาวะ Long COVID คือจะมีอาการคั่นเนื้อคั่นตัว อาการไอเล็กน้อย อ่อนเพลีย ยังรู้สึกถึงการไม่ฟื้นตัวจากอาการป่วย เช่น ยังรู้สึกเหนื่อยหายใจไม่อิ่ม อาการ Long COVID ไม่มีผลต่อสุขภาพในระยะยาวกว่านั้น

 

          อย่างไรก็ดี ภาวะ LONG Covid ใช่ว่าจะเกิดขึ้น กับผู้ป่วยที่หายจากอาการติดเชื้อทุกคน  สาเหตุของภาวะ Long COVID นั้นเกิดจากภาวะอักเสบที่ยังหลงเหลือ หรือเกิดจากการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด LONG Covid ได้แก่ อายุ กล่าวคือผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นไปได้สูงที่พบว่ามีภาวะ LONG Covid หรือโรคประจำตัวเช่น ภาวะอ้วน ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ หรือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ คนไข้จึงรู้สึกอ่อนเพลีย อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิด LONG Covid คือความเครียด ซึ่งอาจเกิดจากความวิตกกังวลอันเนื่องจากความเจ็บป่วย หรือความเครียดที่เกิดขึ้นเมื่อต้องถูกจำกัดบริเวณจากการกักตัวเป็นเวลานาน

 

          แนวทางการรักษาภาวะ Long COVID นั้นจะเน้นที่การรักษาตามอาการเป็นหลัก ผู้ป่วยสามารถรอให้หายเองได้หากรู้สึกถึงอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง เช่น อยากมีอาการไอ เหนื่อย หอบมมากขึ้น หรือมีอาการทางระบบประสาทที่มีมากกว่าปกติ เช่น รู้สึกสับสน ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาต่อไป การออกกำลังกา ยเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้การกลับมาทำงานของร่างกาย ได้อย่างรวดเร็ว และสมบูรณ์ นอกจากนี้ ป่วยต้องอาศัยกำลังใจ ทั้งจากตนเอง และคนรอบข้าง อย่างเช่นการพูดคุย สื่อสาร ทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อบรรเทาความเครียด ก็สามารถช่วยให้สุขภาพจิตที่ย่ำแย่อันเนื่องมาจากภาวะ Long COVID ดีขึ้นได้

 

        “อีกหนึ่งข้อสงสัยที่ว่าการรับวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Long COVID ได้หรือไม่นั้น สามารถกล่าวได้ว่าวัคซีนจะเป็นตัวช่วยให้ผู้ป่วยเมื่อติดเชื้อ จะไม่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรง กล่าวคือ เมื่อไม่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรง ก็เท่ากับว่ามีโอกาสที่จะเกิดภาวะ Long COVID ได้น้อยลงแน่นอน”

 

        มีข้อสงสัยว่าในผู้ป่วยที่ภาวะปอดอักเสบรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากดีขึ้นแล้ว กลับมามีปัญหาหอบเหนื่อย และมีภาวะออกซิเจนต่ำนั้น คือภาวะ Long COVID หรือไม่ อาการดังที่กล่าว เกิดจากความเสียหายของปอดนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้อง กับภาวะ Long COVID โดยตรง หากแต่มีผล มาจากการทำลายเนื้อเยื่อ โดยภูมิคุ้มกันทำให้ปอดมีความเสื่อม และยังไม่ฟื้นตัวพร้อมทำงานอย่างเต็มที่ เกิดภาวะพร่องออกซิเจนที่ทำให้เหนื่อยหอบ หรือเกิดจากการติดเชื้อ อื่นซ้ำเติมเช่น เชื้อราหรือ แบคทีเรีย อาการของ Long COVID ที่แท้จริงคืออาการที่ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว รู้สึกมีอาการไข้ หรือไอมากกว่าปกติ แต่ไม่ได้ส่งผลให้เนื้อปอดอักเสบเพิ่มขึ้น

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

รวม สมุนไพร แก้ไอ ขับเสมหะ

รวม สมุนไพร รักษาอาการ กรดไหลย้อน


แท็ก :


บทความที่น่าสนใจ

สอบถามเพิ่มเติม คลิก

payment
แจ้งชำระเงิน คลิก