ล้างผัก ผลไม้ อย่างไร ให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
แชร์:
facebook_share
line_share
twitter_share messenger_share

ล้างผัก ผลไม้ อย่างไร ให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค


            สารพิษตกค้างในผัก และผลไม้ ไม่ได้มีแค่ยาฆ่าแมลง หรือยาปราบวัชพืช แต่ยังรวมถึงเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่มาจากมูลสัตว์ เช่น เชื้อเอสเชอริเชีย โคไล หรือเชื้ออีโคไล และเชื้อซาลโมเนลลา ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสีย หรือติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ นอกจากนั้น ในดินเพาะปลูกยังอาจมีสารพิษตกค้างหลงเหลืออยู่อีกด้วย หากนำผักผลไม้มาปรุงอาหารโดยที่ไม่ล้างให้สะอาด โดยเฉพาะอาหารที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุก ก็มีสิทธิที่คนกินจะได้รับสารพิษเหล่านั้นเข้าไปในร่างกาย แม้เพียงเล็กน้อย แต่ก็อาจทำให้บางคนเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน หรือเวียนหัวได้

 

วิธีการเลือกซื้อผัก และผลไม้  ให้ปลอดภัย และลดความเสี่ยงของสารเคมีตกค้าง

  • เลือกซื้อผัก และผลไม้ที่มีสีสันตามธรรมชาติ ไม่มีสีสันฉูดฉาด ไม่มีคราบดิน หรือคราบสีขาว ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชติดมา ไม่มีจุดราดำ หรือเชื้อราต่างๆ รวมถึงกลิ่นที่ผิดปกติ

  • เลือกซื้อผักสดที่มีรูเจาะที่ใบ มีรอยกัดแทะของหนอน หรือแมลงอยู่บ้าง หรือควรเลือกผัก และผลไม้ ที่มีตัวหนอน หรือมีแมลงเดินอยู่เล็กน้อย เช่น มด เพลี้ย หรือแมลงที่ติดมากับผัก ตามธรรมชาติ เพราะในปัจจุบันแม่ค้าผัก มีการทำรอยสัตว์กัดแทะ หนอนเจาะปลอม ๆ โดยการนำเอาทรายไปกลิ้งบนกระทะให้ร้อน แล้วสาดใส่ผัก ให้มีลักษณะ เหมือนรอยเจาะของหนอนนั่นเอง

  • ถ้าเป็นผัก และผลไม้ ในห้างสรรพสินค้า ควรเลือกซื้อ ที่มีการแสดงฉลากแสดงที่อยู่ หรือสถานที่ผลิตที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถตรวจสอบ ย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของผัก และผลไม้ได้ เช่น ตรวจสอบสถานที่ผลิต หรือแหล่งนำเข้าผัก และผลไม้

  • เลือกซื้อผัก และผลไม้ตามฤดูกาล เนื่องจากผักที่ปลูกได้ตามฤดูกาล จะมีโอกาสเจริญเติบโต ได้ดีกว่านอกฤดูกาล ทำให้ลดการใช้สารเคมี และปุ๋ยลงได้

  • เลือกซื้อผักพื้นบ้าน ตามถิ่นที่อยู่อาศัยนั้น ๆ หรือกินผักที่ปลูกเองได้ง่าย ๆ เช่น กะเพรา ต้นหอม ผักชี ผักบุ้ง ตะไคร้ ใบมะกรูด เป็นต้น

  • ไม่ซื้อผักชนิดใดชนิดหนึ่ง มากินเป็นประจำ ควรกินให้หลากหลายชนิด สับเปลี่ยนกัน เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน และหลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษ หรือสารเคมีสะสมจากผักชนิดใดชนิดหนึ่ง

  • ซื้อผัก และผลไม้ ที่ได้รับการรับรองจากทางราชการ เช่น ตลาดเกษตรกรประจำจังหวัด ตลาดผัก และผลไม้เกษตรอินทรีย์ และตลาดสดที่มีการตรวจ จากเจ้าหน้าที่ทางราชการ เนื่องจากมีการควบคุมการใช้สารเคมี ไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เพื่อให้ได้ผักที่ปลอดสารพิษ

 

วิธีล้างผัก ผลไม้ อย่างไรให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

1. ล้างผัก และผลไม้ ด้วย น้ำส้มสายชู

จะช่วยลดสารพิษตกค้างได้ 29 - 38% โดยการผสมน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำเปล่าอุณหภูมิห้อง 4 ลิตร แช่ผัก หรือผลไม้ ลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ล้างผัก และผลไม้ออก ด้วยน้ำสะอาด อีก 1 รอบ

2. ล้างผัก และผลไม้ ด้วย ผงฟู

จะช่วยลดสารพิษตกค้างได้ 80 - 95% โดยการผสมผงฟู (Baking Soda) 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำอุณหภูมิปกติประมาณ 20 ลิตร แช่ผัก หรือผลไม้ ลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที ล้างผัก และผลไม้ออก ด้วยน้ำสะอาด อีก 1 รอบ

3. ล้างผัก และผลไม้ ด้วย ด่างทับทิม

จะช่วยลดสารพิษตกค้างได้ 35 - 45% โดยการผสมด่างทับทิม 20 - 30 เกล็ด กับน้ำอุณหภูมิปกติประมาณ 4 ลิตร แช่ผัก หรือผลไม้ ลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ล้างผัก และผลไม้ออก ด้วยน้ำสะอาด อีก 1 รอบ

4. ล้างผัก และผลไม้ด้วย เกลือ

 จะช่วยลดสารพิษตกค้างได้ 27 - 38% โดยการผสมเกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำอุณหภูมิปกติ ประมาณ 4 ลิตร แช่ผัก หรือผลไม้ ลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ล้างผัก และผลไม้ออก ด้วยน้ำสะอาด อีก 1 รอบ

5. ล้างผัก และผลไม้ ด้วย น้ำไหลผ่าน

จะช่วยลดสารพิษตกค้างได้ 54 - 63% เป็นวิธีที่ทำง่ายที่สุด แต่ต้องอาศัยความพิถีพิถัน ก็คือการเปิดน้ำก็อกให้ไหลผ่านผัก และผลไม้ เปิดให้น้ำไหลผ่านอย่างต่อเนื่อง แล้วค่อย ๆ ล้าง ค่อย ๆ ถูผักทีละใบ ถูผลไม้ทีละลูก เท่านี้ก็ช่วยลดสารพิษตกค้างได้แล้ว

6. ใช้ เครื่องล้างผัก Mannature Ultrasonic Hydroxy

            เป็นเทคโนโลยี ไฮดรอกซีวอเตอร์ไอออน ใช้น้ำในการล้าง โดยไม่มีสารเคมีเพิ่มเติม สามารถย่อยสลายแบคทีเรีย สารกําจัดศัตรูพืชที่ตกค้าง และฮอร์โมนในอาหาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องจะทำงานอัตโนมัติ โดย 1 นาทีแรก จะเป็นการทำงานร่วมกัน โดยใช้ระบบน้ำวน และระบบไฮโดรซี่ หลังจาก 1 นาที จะเปลี่ยนไปเป็นระบบสั่น ระบบจะทำงานไปเรื่อย ๆ และหลังจาก 5 นาที เครื่องจะกลับมาทำระบบน้ำวน ช และระบบไฮโดรซี่ ต่อเนื่อง 10 นาที และเครื่องจะตัดการทำงานอัตโนมัติ ถือว่าการล้างเสร็จสมบูรณ์ 

 

วิธีการล้างตามประเภทของผัก ผลไม้  

1. ผักใบ

ผักใบ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง กะเพรา ต้นหอม ผักชี ฯลฯ ให้เปิดน้ำไหลผ่านแล้วค่อย ๆ คลี่ใบออก หากเป็นกะหล่ำปลี หรือผักกาดขาว ให้หั่นหรือฉีกออกมาเป็นใบ ๆ เพื่อให้น้ำเข้าไปถึงซอกใบ ถูใบผักให้ทั่ว แล้วทำซ้ำ ๆ เพื่อล้างทั้งสารพิษ ดิน และทราย ออกให้หมด

2. ผักหัว

ผักหัว เช่น แครอท หัวไชเท้า ขิง ข่า ฯลฯ ให้เปิดน้ำไหลผ่าน และถูหัวผักให้ทั่ว อย่างน้อย 2 นาที หรือถูจนกว่าสิ่งสกปรก เศษดิน เศษทราย ออกหมด

3. ผัก และผลไม้เปลือกแข็ง

ผัก และผลไม้ที่มีผิวด้านนอกแข็ง เช่น แตงกวา ฟัก แฟง ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง ฯลฯ ให้เปิดน้ำไหลผ่านให้แรงพอประมาณ แล้วถูที่ผิวของผัก และผลไม้ให้ทั่ว จากนั้นสะเด็ดน้ำให้แห้ง ก่อนนำไปปรุงอาหาร

4.  ผัก และผลไม้ผิวนุ่ม

ผัก และผลไม้ที่มีผิวด้านนอกนุ่ม เช่น สตรอเบอร์รี่ มะเขือเทศ องุ่น ฯลฯ ให้เปิดน้ำไหลผ่านเบา ๆ แล้วออกแรงถูอย่างเบามือ หรือพลิกกลับไปกลับมา จนมั่นใจว่าผลไม้ทุกลูก ทุกด้านสะอาดดีแล้ว จากนั้นผึ่งไว้หรือซับให้แห้งก่อนรับประทาน

 

5. เห็ด

เห็ดจะค่อนข้างอุ้มน้ำ ไม่แนะนำให้แช่น้ำ ควรเปิดน้ำให้ไหลผ่านแบบเร็ว ๆ หากเจอสิ่งสกปรก ให้ใช้มือหยิบออก หรือถูอย่างเบามือ จากนั้นนำไปผึ่ง บนกระดาษทิชชู่จนแห้งสนิท ก่อนนำไปทำอาหาร

 

            เป็นอย่างไรกันบ้างคะ อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว พอได้เคล็ดลับในการเลือกซื้อผัก และผลไม้ ที่ปลอดสารพิษ และวิธีการล้างผัก และผลไม้ที่ถูกต้องกันแล้ว อย่าลืมนำไปปฏิบัติตามกันนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ และคนที่คุณรัก ด้วยความปารถนาดีจาก Mannature Ultrasonic Hydroxy

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม :

เครื่องดื่มสมุนไพร แก้อาการ บำรุงสุขภาพ

ไข่ อาหารเพื่อสุขภาพ หาซื้อง่าย ได้ประโยชน์เพียบ


แท็ก :


บทความที่น่าสนใจ

สอบถามเพิ่มเติม คลิก

payment
แจ้งชำระเงิน คลิก